แขวงหลวงน้ำทา
ความหมายและความเป็นมา
เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ที่ชอบแสวงหาสิ่งใหม่ๆหลวงน้ำทานั้นสามารถชมวิถีชีวิตของชนเผ่าต่างๆ และร่องรอยของสงครามกองทัพขบวนการประเทศลาวที่เคยเกิดขึ้นกับกองโจรม้ง และเยี่ยมชมเมืองสิงห์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแขวงหลวงน้ำทาซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนในพื้นที่ นอกจากนี้การเที่ยวชมวัดหลวงบ้านเชียงใจเป็นสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาแบบไทลื้อ เรือนพญาเซกอง มรดกของอาคารยุคอาณานิคม ในช่วงสงครามอเมริกัน พ.ศ. 2498-2518 พื้นที่แถบบริเวณนี้เคยเป็นมรภูมิรบ ระหว่างขบวนการประเทศลาวและกลุ่มกองโจรของพวกชาวเขา ส่วนใหญ่นั้นเป็นชาวม้งได้รับการหนุนหลังจากหน่วยงานซีไอเอของสหรัฐฯ ส่งผลให้ตัวเมืองถูกทำลายโดยไม่สามารถซ่อมแซมได้จึงต้องทำการย้ายฝั่งไปสร้างเมืองสิงห์ อุดมไชย บ่อเต็น และประกอบด้วยคนหลายชนเผ่า แม้ว่าทางการนั้นย้ายเมืองหลวงใหม่แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ภายในเมืองเก่าชาวหลวงน้ำทำได้เรียกเขตนี้ว่า เมือง และเรียกเขตที่สร้างใหม่ว่าแขวง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเข้ามาแวะพักเพื่อเดินทางต่อไปยังบ่อแก้ว หรือไปยังเมืองจีน หรือไปยังเมืองสิงห์ ภายในเมืองหลวงน้ำทามีที่พักแบบเกตส์เฮาท์ค่อนข้างมาก ปัจจุบันแขวงหลวงน้ำทามีถนนสายกว้าง ในช่วงเช้าจะพบผู้คนมากมายออกมาจับซื้อของที่ตลาดซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสถานีรถขนส่ง ถัดจากเมือง 2 กิโลเมตรไปตามเส้นทางเมืองสิงห์ จะพบศูนย์หัตถกรรมหลวงน้ำทาซึ่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ออกเงินสร้างเพื่อให้มีที่จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมของชาวบ้าน
ที่ตั้งและภูมิอากาศ
ตั้งอยู่ทางเหนือของสปป. ลาว ทิศตะวันตกเชื่อมติดกับพม่าและแขวงบ่อแก้ว และทางทิศเหนือเชื่อมกับสป. จีน ทิศตะวันออกและใต้ติดกับแขวงอุดมไชย ซึ่งใช้เวลาเดินทางจากเมืองอุดมไชย 1 ชั่วโมง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 1 ตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทา มีศูนย์หัตถกรรมหลวงน้ำทา ตั้งอยู่บนถนนที่จะเดินทางไปยังเมืองสิงห์เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน จึงเป็นที่อยู่อาศัยของเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ ม้ง ขมุ ไทเหนือ ไทดำ ไทแดง ไทขาว ไทลื้อ ละวิด สีดา อีก้อ มูเฆ กะลอม ไทยใหญ่
เศรษฐกิจ
แขวงหลวงน้ำทานั้นเป็นเมืองที่ติดกับประเทศจีนมีการรับสินค้าต่างๆมาจากประเทศจีน เนื่องจากเมืองหลวงน้ำทามีพื้นที่ส่วนมากเป็นภูเขา จึงมีการทำไร่ ทำนา อยู่เทือกเขา นอกจากนี้ยังมีการปลูกอ้อย มันสัมปะลัง เผือก เพื่อนำไปขายและส่งสินค้าไปยังเมืองอื่นๆ และมีการปลูกฝ้าย ข้าวโพด อีกด้วย ซึ่งฝ้ายนั้นจะนำไปทอผ้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเมืองหลวงน้ำทา
การแบ่งเขตการปกครอง
รหัสเมือง เมือง (ไทย) เมือง (อังกฤษ)
03-01 หลวงน้ำทา
Namtha
03-02 สิงห์
Sing
03-03 ลอง
Long
03-04 เวียงภูคา
Viangphoukha
13-05 นาแล
Nale
เมืองหลวงน้ำทา
เป็นเมืองท่องเที่ยวและมีโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร บ้านพัก อยู่มาก และมีตลาดที่มีขนาดใหญ่ในเมืองหลวงน้ำทา มีชนเผ่าพวน เผ่าลื้อ เผ่าย้าว เผ่าอีกอ เผ่าไทแดง เผ่าไทดำ อาศัยอยู่ในเมืองหลวงน้ำทา นอกจากนี้ยังมีการปลูกฝ้าย ทอผ้า และเลี้ยงหม่อน เป็นศูนย์หัตถกรรม เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ที่ชอบแสวงหาสิ่งใหม่ๆ หลวงน้ำทามีทั้งการให้ชมวิถีชีวิตของชนเผ่าต่างๆ ร่องรอยจากสงครามกองทัพขบวนการประเทศลาวกับกองโจรม้ง เยี่ยมชมเมืองสิงห์ ซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ เที่ยวชมวัดหลวงบ้านเชียงใจ สถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาแบบไทลื้อ เรือนพญาเซกอง มรดกของอาคารยุคอาณานิคมในช่วงสงครามอเมริกาพ.ศ. 2498-2518 พื้นที่แถบนี้เคยเป็นสมรภูมิรบ ระหว่างขบวนการประเทศลาวและกลุ่มกองโจรของพวกชาวเขา ส่วนใหญ่เป็นเผ่าม้ง ที่ได้รับการหนุนหลังจากหน่วยงานซีไอเอของสหรัฐฯ ส่งผลให้ตัวเมืองถูกทำลายโดยไม่สามารถซ่อมแซมได้ ต้องย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ริมฝั่งแม่น้ำทา ห่างจากที่ตั้งเดิมมาทางเหนือ 7 กิโลเมตร ใกล้กับทางหลวงที่ใช้ไปยังเมืองสิงห์ อุดมไชย และบ่อเต็น ประกอบด้วยคนหลายชนเผ่า แม้ว่าทางการจะย้ายเมืองหลวงใหม่มาแล้วก็ตาม แต่สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองเก่า ชาวหลวงน้ำทาเรียกเขตนี้ว่า เมือง และเรียกเขตที่สร้างใหม่ว่าแขวง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเข้ามาแวะพักเพื่อเดินทางต่อไปยังบ่อแก้ว หรือไม่ก็ไปจีน หรือไปยังเมืองสิงห์ ภายตัวเมืองหลวงน้ำทามีที่พักแบบเกสต์เฮาส์ค่อนข้างเยอะปัจจุบันหลวงน้ำทามีถนนสายกว้าง ถ้าเดินมาทางเชิงสะพานด้านตะวันออกของถนนสายหลักในยามเช้า จะเห็นผู้คนออกมาจับจ่ายซื้อของที่ตลาดซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสถานีรถขนส่ง ถัดจากเมืองประมาณ 2 กิโลเมตรไปตามเส้นทางเมืองสิงห์ จะพบศูนย์หัตถกรรมหลวงน้ำทาซึ่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ออกเงินสร้างเพื่อให้มีที่จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมของชาวบ้าน
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองหลวงน้ำทา
พิพิธภัณฑ์หลวงน้ำทา อยู่ด้านหลังห้องว่าการแขวงหลวงน้ำทา (ศาลากลางจังหวัด) เป็นอาคารชั้นเดียว ภายในจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของชนเผ่า เสื้อผ้า เครื่องประดับต่างๆ มีพระพุทธรูปเก่าที่ขุดพบบริเวณเมือง และเรื่องราวเกี่ยวกับพรรปฎิวัติลาวรวมถึงการจัดแสดงศิลปวัตถุของท้องถิ่น เช่น ชุดประจำเผ่า กลองสำริด ของเผ่าขมุ และรายละเอียดการปฏิวัติปลกปล่อยชาติ (ค่าเข้าชม 1,000 กีบ เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-12.00 น. และ 13.30-15.30 น.)
พระธาตุมีไชหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดธาตุสามัคคีไช” เป็นพระธาตุบนเขาที่เห็นได้จากตัวเมือง สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2547 โดยชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาชาวหลวงน้ำทา และชาวลาวต่างแขวง และชาวต่างประเทศ การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ด้านหน้ามีรูปปั้นชนเผ่าต่างๆ ในชุดแต่งกายประจำเผ่า ถือเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ของเมืองที่สวยงาม
พระธาตุปุมปุกห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 7 กิโลเมตรเลี้ยวขวาเข้าถนนลูกรังเล็กๆ ข้างสนามบินไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงเนินเขาที่ตั้งขององค์พระธาตุ สามารถเดินขึ้นประมาณ 15 นาที หรือขับรถขึ้นไปประมาณ 800 เมตร จะพบพระธาตุศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของชาวเมือง พระธาตุแห่งนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2171 โดยพระเจ้าปุมปุก (บางตำราว่าพระเจ้าสุทโธทนะ) แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เจดีย์ได้หักโค่นพังทลายลงจากแรงระเบิดพร้อมกับเมือง จนถูกปล่อยทิ้งร้างไว้นานผ่านไปจนถึงสมัยที่ประเทศลาวได้รับเอกราช และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย จึงมีชาวบ้านร่วมกันบูรณะ แต่องค์พระธาตุเดิมเสียหายอย่างหนักยากแก่การซ่อมแซม จึงได้ก่อสร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นในปีพ.ศ. 2545 เคียงข้างกับพระธาตุองค์เดิม ซากปรักหักพังขององค์พระธาตุนี้ถือเป็นอนุสรณ์ของสงครามเพียงแห่งเดียวของเมือง
วัดหลวงขอนรัตนารามออกจากพระธาตุปุมปุกสู่ถนนสายหลัก ชาวบ้านส่วนใหญ่เรียก “วัดบ้านหลวงขอน” เป็นวัดเก่าที่ถูกทำลายในสงคราม และมาสร้างขึ้นใหม่ภายหลังตามแบบไท-กาลอม
บ้านป่าสักทางเข้าอยู่ตรงข้ามสัดหลวงขอน ผ่านท่าเรือและเฮือนพักไปประมาณ 2 กิโลเมตรจะเป็นหมู่บ้านของชาวไทดำ ทำหัตถกรรมทอผ้า และต้มเหล้า แต่ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่หันไปทำนาทำไร่แทนเป็นส่วนมาก
บ้านน้ำดีย้อนกลับไปทางทิศเหนือของเมือง (ทางไปเมืองสิง) ประมาณ 2 กิโลเมตร จะเห็นป้ายทางไปหมู่บ้านน้ำดี เลี้ยวเข้าสุ่ถนนลูกรังไปอีกประมาณ 2.5 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านชนเผ่าแลนแตน เป็นหมู่บ้านที่เข้าถึงได้สะดวก ชนเผ่าแลนแตนในบ้านน้ำดีทุกคนเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว และยังคงดำเนินวิถีชีวิตตามแบบดั้งเดิม เวลากลางวันผู้ชายจะออกจากบ้านไปทำไร่ทำนา หรือหาของป่า ผู้หญิงจะอยู่บ้านทำงานหัตถกรรมประเภททอผ้า ทำปอสา หรือนำหญ้ามามัดเป็นหลังคา ฯลฯ ที่ท้ายหมู่บ้านมีน้ำตกเล็ก ที่สวยงาม
น้ำตกตาดผาเยือง ภูกิ่วลมก่อนถึงเมืองสิงประมาณ 18 กิโลเมตร จะพบป้ายทางเข้าน้ำตก ต้องจอดรถและเดินขึ้นเขาไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ตัวน้ำตกมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติของป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์
พระธาตุเชียงตุงตั้งอยู่บนเนินเขา ก่อนถึงเมืองสิง 5 กิโลเมตร ด้วยชื่อและรูปทรงขององค์พระธาตุอาจดูคล้ายกับพระธาตุเชียงตุงที่จังหวัดเชียงราย แต่มีขนาดย่อมกว่าคือ สูงประมาณ 10 เมตร ถือเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ในช่วงเวลาที่พระจันทน์เต็มดวงเดือน 12 ลาว (ประมาณเดือนต.ค.-พ.ย.) ของทุกปี จะมีงานบุญธาตุเชียงตุงที่ยิ่งใหญ่ของเมืองสิง ชาวบ้านจะแต่งตัวกันอย่างสวยงามรวมถึงมีชาวจีนบางส่วนก็ข้ามแดนมาสักการบูชา ด้านหนึ่งของพระธาตุจะพบต้นไม้ขนาดใหญ่ใต้ฐานมีแท่นบูชา และบ่อน้ำเก่าตามแบบศิลปะจีนโบราณ
เมืองสิงห์
ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 3 ซึ่งห่างจากตัวเมืองมาทางทิศเหนือประมาณ 60 กิโลเมตร ผ่านทิวเขา สายน้ำทา และผืนป่าเขียวขจีสองข้างทางมาถึงเมืองสิง เมืองเล็กๆ ตั้งอยู่บนที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ โอบล้อมด้วยทิวเขา มีสายน้ำยวนและม่าคอยหล่อเลี้ยง อดีตเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ และเคยตกเป็นเมืองขึ้นของแคว้นทางตอนเหนือของไทย, อังกฤษ และฝรั่งเศสซึ่งสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกฝิ่น และเป็นผู้ผูกขาดการค้าฝิ่นเสียเองนอกจากนี้เมืองสิงยังเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมไทลื้อ นอกแผ่นดินจีนเลยทีเดียว ชาวไทลื้อนั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูลภาษาไทซึ่งรวมถึงพวกลาวลุ่ม ชาวเขาบางเผ่า ผู้คนในภาคเหนือของไทย และในรัฐฉานของพม่า ชาวไทลื้อมีถิ่นฐานอยู่ในมณฑลยูนนานทางภาคใต้ของจีนห่างจากเมืองสิงมาเพียง 10 กิโลเมตร ชาวไทลื้อในลาวจึงได้ชื่อว่ามีสายเลือดและวัฒนธรรมแบบไทลื้อแท้กว่ากลุ่มอื่นๆ ที่อยู่นอกเขตถิ่นฐานเดิมของบรรพบุรุษใช่ว่าเมืองสิงจะมีชาวไทลื้ออาศัยอยู่อย่างหนาแน่น นอกเมืองออกไปยังมีชาวเขาเผ่าต่างๆ ทั้งเผ่าม้งเผ่าเย้า เผ่าเผ่ามูเซอ เผ่าอาข่า เผ่าแวนแตน ส่วนใหญ่มักตั้งหมู่บ้านอยู่บนไหล่เขา และจะเข้ามาซื้อของในเมืองสิงทุกๆ เช้า เปรียบได้กับตลาดนัดชาวเขาเลยทีเดียว
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองสิงห์
พิพิธภัณฑ์เมืองสิงตั้งอยู่หัวมุมถนนทางด้านทิศเหนือของเมือง ด้วยรูปทรงอาคารไม้ 2 ชั้นตามแบบไทลื้อโบราณ ดูเรียบง่ายแต่ความวิจิตรบรรจงจะอยู่ที่บานหน้าต่าง และประตู สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2477 เดิมเป็นบ้านของพระยาเซกอง ผู้สืบทอดเชื้อสายกษัตริย์ไทลื้อ และต่อมาได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นเจ้าเมืองภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ชั้นล่าง เป็นส่วนแสดงของชนเผ่าต่างๆ ของเมือง ชั้นบน จัดแสดงภาพถ่าย พระพุทธรูปเก่า เครื่องใช้ไม้สอยโบราณ มีมุมหนึ่งแสดงประวัติของกษัตริย์ในอดีตที่เคยครองเมืองนี้
ป้อมทหารฝรั่งเศสเก่าในเมืองสามารถพบเห็นสถาปัตยกรรมสมัยอาณานิคมฝรั่งเศสได้ทั่วไป รวมทั้งอาคารป้อมทหารฝรั่งเศสหลังเก่าที่อยู่ตรงข้ามตลาด ปัจจุบันใช้เป็นห้องการตำรวจเมือง
งานบุญประจำปีของเมืองสิงงานบุญประจำปี คืองานบุญพระธาตุเมืองสิงห์ ซึ่งจะจัดขึ้นในราวปลายเดือนตุลาคม หรือต้นพฤศจิกายนตามกำหนดวันในปฎิทินทางจันทรคติของแต่ละปี สถานที่จัดงานคือ บริเวณพระธาตุบนเขาทางทิศใต้ของตัวเมือง จัดเป็นงานบุญในพุทธศาสนา จึงมีทั้งธูปเทียน และข้าวปลาอาหารที่ชาวบ้านนำมาถวายพระ พวกชาวเขาเผ่าต่างๆ ก็มาร่วมงานบุญนี้อย่างคับคั่ง มีการแต่งกายประจำเผ่ากันอย่างครบชุดออกมาร่วมงาน ส่วนงานประเพณีสงกรานต์ในเดือนเมษายน และงานบุญบั้งไฟ เพื่อขอฝนในช่วงฤดูแล้งของเมืองสิงก็ครึกครื้นไม่แพ้กันปัจจุบันการเดินทางไปยังเมืองหลวงน้ำทา ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะมีรถโดยสารประจำทางออกจากเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว หรือใช้บริการของสายการบินลาว เที่ยวบินจากเวียงจันทน์-หลวงน้ำทา หากต้องการเดินทางโดยทางน้ำก็มีบริการเรือจากห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (ด่านไทย-ลาว) ซึ่งเรือจะล่องไปตามลำน้ำโขง จากนั้นเปลี่ยนเรือเพื่อเดินทางไปตามแม่น้ำทาแล้วต่อด้วยรถยนต์ไปยังเมืองสิงห์
พระธาตุเชียงตึง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมือง เป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมสูง 10 เมตร ตั้งอยู่บนเนินเขาศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา-ล้านช้าง ทุกปีในวันเพ็ญเดือน 12 ชาวเมืองจะจัดงานฉลองบุญขึ้นธาตุ จัดเป็นงานใหญ่ประจำปี เหมือนกับงานฉลองพระธาตุหลวงนครเวียงจันทน์ที่จัดในเวลาเดียวกัน
เมืองเวียงภูคา
เป็นเมืองที่อยู่ทางตอนใต้ของแขวงหลวงน้ำทา ห่างจากเทศบาลแขวงประมาณ 60 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 1,866 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่ตั้งในเขตภูเขา ติดต่อกับเมืองต่างๆดังนี้คือเมืองน้ำทา เมืองนาแล และเมืองลอง แขวงบ่อแก้ว ประกอบด้วยชนเผ่าที่หลากหลาย ทั้งชาวอาข่า ชาวมูเซอ ชาวขมุ ชาวม้งและชาวลาว และยังเป็นที่เชื่อมต่อการค้าระหว่างเมืองน้ำทากับเมืองห้วยทรายของแขวงบ่อแก้วและเป็นเมืองผ่านระหว่างทางไปแขวงบ่อแก้ว บนทางหลวงหมายเลข 3 ระยะทางประมาณ 66 กิโลเมตรจากตัวเมืองหลวงน้ำทา เสน่ห์การท่องเที่ยวในเมืองนี้จะอยู่ที่โปรแกรมการเดินป่า เพื่อศึกษาความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอย่างมาก ทำให้นักท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตและชื่มชมชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของแต่ละชนเผ่าและประเพณีต่างๆ
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองเวียงภูคา
วัดมหาพรต สร้างขึ้นสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ชาวเมืองเชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองและชาวบ้านเมืองเวียงภูให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างมาก
ถ้ำภูผาสาด ในสมัยก่อนถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำที่ทหารใช้เป็นที่หลบภัยในสมัยสงครามโลก ซึ่งเป็นถ้ำขนาดใหญ่ภายในถ้ำมีอากาศที่เย็นสบาย เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินป่า
เมืองนาแล
เป็นเมืองที่มีภูเขาสูงและมีภูเขาที่สลับซับซ้อนกัน นอกจากนี้เมืองนาแลยังมีแม่ทาไหลผ่านเมือง เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ช่วงหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวเมืองนาแลไว้ ความเป็นอยู่ของเมืองนี้เป็นแบบเรียบง่ายและใช้ชีวิตอย่างพอเพียง โดยการหาปลาตามแม่น้ำ ลำธาร เข้าป่าไปหาเผือก มัน หน่อ และผักต่างๆตามฤดูกาล ที่สามารถนำมาเป็นอาหารของครอบครัว ทำให้เมืองนาแลเป็นเมืองสงบเหมาะแก่การพักผ่อนและท่องเที่ยวผจญภัยในการเดินป่า
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองนาแล
ตลาดเช้าเป็นตลาดที่อยู่ในเมืองนาแล โดยชาวบ้านจะนำของที่หาได้จากป่าหรือปลูกเอง เช่น เห็ดป่า หน่อไม้ป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการหาสัตว์ป่าที่หายากเพื่อนำมาขายและนำมาประกอบอาหาร และดูวิถีชีวิตชาวบ้านที่นำของมาขายและการเรียกลูกค้า ทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่น่าอยู่และเต็มไปด้วยรอยยิ้มชาวนาแล
เมืองลอง
เป็นเมืองเล็กในแขวงหลวงน้ำทา ชาวเมืองลองมีวิถีชีวิตความเป็นแบบเรียบง่ายและพอเพียงในการใช้ชีวิตของตนเอง ซึ่งตามบ้านเรือนต่างๆจะสร้างจากไม้เป็นส่วนใหญ่ และมีเทือกเขาสูงที่สลับซับซ้อนกัน โดยชาวบ้านในเมืองลองจะทำอาชีพเกษตรเป็นส่วนมากคือ การปลูกอ้อย ข้าว มัน กล้วย เผือก เป็นต้น เพราะพื้นที่ส่วนมากมีป่าที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตร
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองลอง
ตลาดเมืองลองอยู่กลางเมืองลองเมืองเล็กที่มีที่ราบไม่มากของแขวงหลวงน้ำทา ตลาดเมืองลองเล็กกว่าเมืองสิงเยอะครับ ตอนเช้าๆมีชาวเขาเผ่าต่างๆมาเดินซื้อของ ขายของแต่ไม่มากเท่าเมืองสิง ตลาดนี้มีโซนในร่มเยอะ แบบตั้งขายกะพื้นน้อยลงไปแล้ว แต่ก็ได้บรรยากาศสดชื่นตอนเช้า มีชาวบ้านเอาของที่ตัวเองปลูกมาขายกัน และการหาของป่าเพื่อนำมาขายให้กับผู้คน